วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การละเล่นตะกร้อลอดบ่วง ของภาคกลาง



ตะกร้อลอดบ่วง

อุปกรณ์และวิธีการเล่น
ลักษณะของห่วงและลูกตะกร้อ

ลูกตะกร้อที่ใช้มี ๓ ขนาด
๑.ขนาด ๑๖๐ กรัม ใช้สาน ๘ เส้น
๒.ใช้แข่งเซปัคตะกร้อ ขนาด ๑๘๐ กรัม ใช้สาน ๘ เส้น
๓.ใช้แข่งตะกร้อลอดบ่วง ขนาด ๑๙๐-๒๐๐ กรัม
ขนาดของห่วง เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๘ นิ้ว นำเหล็กมางอเป็นวงกลม ๓ วง ผูกติดกันและใช้เชือกสานเป็นตาข่าย ในสมัยก่อนจะเรียกว่า "ห่วงลาว" ความกว้างของห่วงจะไม่เท่ากัน คือ
ห่วงที่ ๑ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๖ นิ้ว
ห่วงที่ ๒ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๔ นิ้ว
ห่วงที่ ๓ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๔ นิ้ว
ห่วงลาวจะนำมาผูกติดกันเป็นเส้นตรง โดยมีตาข่ายอยู่ด้านในโดยวัดความสูงของก้นห่วงอันสุดท้ายจากพื้น ๗ เมตร และมีการนำดอกไม้ประดิษฐ์มาประดับเพื่อให้เกิดความสวยงาม
แต่ละท่าของตะกร้อจะมีคะแนนต่างกัน
๑.ลูกหน้าเท้า (ลูกแปร) ๓ คะแนน
๒.ลูกหลังเท้า ๑๕ คะแนน
๓.ลูกเข่า ๖ คะแนน
๔.ลูกศีรษะ ๑๐ คะแนน
๕.ลูกไหล่ ๑๒ คะแนน
๖.ลูกข้าง ๖ คะแนน
๗.ลูกบ่วงมือ ๑๒ คะแนน
๘.ลูกแข้ง ๖ คะแนน
๙.ลูกตัดไขว้ ๒๕ คะแนน
๑๐.ลูกไขว้หน้า ๒๕ คะแนน
๑๑.ลูกขึ้นม้าธรรมดา ๘ คะแนน
๑๒.ลูกขึ้นม้าบ่วงมือ ๑๕ คะแนน
๑๓.ลูกพับเพียบธรรมดา ๘ คะแนน
๑๔.ลูกพับเพียบบ่วงมือ ๑๕ คะแนน
๑๕.ลูกไขว่เข่า ๒๐ คะแนน
๑๖.ลูกตบไขว้ ๑๕ คะแนน
๑๗.ลูกไขว้ส้น ๒๐ คะแนน
๑๘.ลูกไขว้ส้นบ่วงมือ ๒๕ คะแนน
๑๙.ลูกศอกหลัง ๑๐ คะแนน
๒๐.ลูกข้างหลังธรรมดา ๑๕ คะแนน
๒๑.ลูกข้างหลังบ่วง ๒๐ คะแนน
๒๒.ลูกตบหลัง ๒๐ คะแนน
๒๓.ลูกตบหลังบ่วง ๒๕ คะแนน
๒๔.ลูกส้นหลังตรง ๓๐ คะแนน
๒๕.ลูกส้นหลังบ่วง ๓๕ คะแนน
๒๖.ลูกพับหลังบ่วง ๔๐ คะแนน เป็นลูกที่คะแนนสูงสุด





                                      การละเล่นตะกร้อลอดบ่วง  ของภาคกลาง









การละเล่นชักเย่อ ของภาคกลาง

  
ชักเย่อ

อุปกรณ์และวิธีการเล่น

วิธีการเล่น

แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ๆ ละกี่คนก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน เมื่อแบ่งพวกได้แล้วก็ขีดเส้นแบ่งแดน หัวแถว (ถ้าเป็นชายเรียกพ่อหลัก ถ้าเป็นหญิงเรียกแม่หลัก) ของทั้งสองฝ่ายเหยียดแขนจับไม้ยึดแนวขนานกับพื้นทั้งสองมือ ไม้จะนอนขนานกับเส้นแบ่งแดน ลูกน้องของแต่ละฝ่ายเกาะเอวหัวแถวเรียงต่อ ๆ กัน เริ่มเล่นต่างฝ่ายพยายามดึงให้ฝ่ายตรงข้ามหลุดล้ำเข้ามาในแดนตน ฝ่ายใดหลุดล้ำถือเป็นฝ่ายแพ้ เมื่อแพ้ทั้งสองฝ่ายก็จะเริ่มต้นเล่นเพลงระบำกัน พอจบก็เริ่มชักเย่อกันใหม่



                                                 การละเล่นชักเย่อ  ของภาคกลาง





การละเล่นหมากเก้บ ขอภาคกลาง

อุปกรณ์
        ก้อนหินลักษณะค่อนข้างกลมขนาดเท่าหัวแม่มือ จำนวน 5 เม็ด

        วิธีเล่น
        ใช้สิ่งสมมติเป็นหมาก 5 ก้อนเริ่มต้นด้วยการทอด คือ การเทปล่อยให้หมากทั้ง 5 กระจายไปบนพื้นกระดานถ้าก้อนไหนอยู่ห่างถือเป็นตัวนำและขึ้นต้นด้วยหมากหนึ่ง คือ หยิบนำลูกไว้ต่างหากโยนขึ้นไป แล้วปล่อย 4 ลูกกระจายบนพื้นทีละลูก และรับลูกที่โยนให้ได้ ในขณะเดียวกันถ้าเก็บได้หมดก็ต่อหมาก 2 หมาก3 หมาก4 ต่อไปด้วยวิธีเล่นแบบเดียวกัน แต่ถ้าเก็บลูก 3 ลูกพร้อมกันเรียกว่า หมาก3 แล้วจึงเก็บอีก 1 ลูก ถ้ารวมหมดเรียกว่า หมาก4 และลูกโยนนั้นจะตกไม่ได้ ถ้าตกนับเป็นได้ ต้องให้คนอื่นเล่นต่อไป หมากเก็บนี้มีวิธีเล่นพลิกแพลงหลายอย่าง เช่นการใช้มือซ้ายป้องและเขี่ย หรือเก็บหมากให้เข้าในมือทีละลูกทีละ 2 3 4 ตามลำดับ เรียกว่า "อีกาเข้ารัง" ถ้าเขี่ยไม่เข้าก็นับเป็นตายยังมี "อีกาออกรัง" "รูปู" ซึ่งใช้มือซ้ายรูปต่างๆ ถ้าใช้นิ้วกลางและนิ้วหัวแม่มือยืนพื้น เป็นรูปเหมือนรูปูก็เรียก "รูปู" ผู้เล่นต้องเก็บหมากลงในรูปูหรือเขี่ยออกนอกรังในขณะที่รับลูกโยนให้ได้พร้อมกัน การละเล่นชนิดนี้ต้องอาศัยการคาดคะเนให้ดี ในขณะโยนลูกว่าควรจะสูงต่ำเพียงใด ในการโปรยลูกว่าถึงกำหนดต้องเก็บอย่างไร จะได้โปรยให้หมากเหล่านั้นอยู่ชิดหรือห่างกันอย่างไร เพราะถ้ามือที่เก็บไปถูกลูกหมากอีกลูกหนึ่ง ซึ่งไม่ได้อยู่ในแม่ที่กำหนดไว้ก็ถือเป็นตายเหมือนกัน


        คุณค่า/แนวคิด/สาระ
        1. เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
        2. เป็นการฝึกสมาธิ เกิดไหวพริบในการแก้ปัญหา
        3. ฝึกน้ำใจเป็นนักกีฬา โดยปราศจากการพนันอันเป็นอบายมุข
        4. เป็นการปลูกฝังความรักความสามัคคีในหมู่เด็ก
ในสภาพสังคมปัจจุบัน ที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจและความเครียดในสังคม การส่งเสริมการเล่นหมากเก็บ อาจเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยลดช่องว่างในหมู่เด็ก สร้างความช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม เป็นการสร้างพื้นฐานที่ดีให้แก่เด็ก เพื่อเติบโตเป็นสมาชิกที่ดีในสังคมไทยในอนาคต




                                                   การเล่นหมากเก็บ  ของภาคกลาง







การละเล่นหุ่นกระบอก ของภาคกลาง


หุ่นกระบอก
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์

ตัวหุ่น คนเชิด และโรงหุ่น
ตัวหุ่นมีส่วนประกอบคือ
-ศีรษะหุ่น แกะจากไม้เนื้อเบา เช่น ลำพู ไม้นุ่นทองพราว ไม้โมก หรือไม้สัก แล้วปั้นแต่งหน้าด้วยรักหรือดิน ปิดด้วยกระดาษสาที่ฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ ทาแป้งเปียกหรือกาว ๓ ชั้น จนเรียบแน่น ทาฝุ่นสีขาว ๓ ชั้น รอจนแห้งสนิท แล้วใช้ใบลิ้นเสือ หรือกระดาษทรายน้ำขัดทั่วหน้าหุ่น
-ศีรษะหุ่นที่เป็นตัวตลก จะทำปากอ้าได้ หุบได้ โดยมีเชือกดึงจากหน้าและมีห่วงอยู่ปลายเชือกสำหรับสอดนิ้วโป้งเข้าไปกระตุกให้ปากอ้าหรือหุบได้
-ลักษณะตัวหุ่น ตัวหุ่นกระบอกจริงๆ คือ ไม้กระบอกหรือไม้ไผ่นั่นเองมีไหล่ทำด้วยไม้เจาะรูสำหรับเสียบ
-มือหุ่น หุ่นตัวพระ จะมีมือขวาถืออาวุธไว้เสมอ จึงมักจะแกะด้วยไม้มีรูสำหรับเสียบอาวุธเปลี่ยนไปได้ตามเรื่อง
             หุ่นตัวนาง มือหุ่นจะตั้งวงรำทั้งสองข้าง แต่บางตัวจะมีมือขวาถืออาวุธบ้างพัดบ้าง
ลักษณะโรงหุ่นกระบอกและฉาก
โรงหุ่น มีลักษณะดังนี้
๑.สูงจากพื้นดินพอประมาณให้คนยืนหรือนั่งดูได้
๒.ความยาวหน้าโรงประมาณ ๗ เมตร หรือ ๓ วา ๒ ศอก
๓.ความสูงจากพื้นถึงหลังคาโรงหุ่นประมาณ ๓.๕๐ เมตร
๔.ความสูงจากหน้าโรงถึงหลังโรงไม่น้อยกว่า ๕ เมตร
ฉากหุ่นกระบอกเขียนด้วยสีฝุ่นเป็นรูปปราสาทราชวัง เป็นฉากผ้ามี ๕ ชิ้น ตัดต่อกันเป็นผืนเดียวลงมาจากด้านบน โรงต้องสูงจากพื้นที่นั่งเชิด ๑ ศอก หรือ ๕๐ เซนติเมตร เพื่อให้มือคนเชิดสอดศอกมาจับหุ่นเชิดหน้าฉากได้สะดวก
วิธีการเล่น
การเชิดหุ่น มือซ้ายของผู้เชิดจะถือกระบอกไม้ไผ่อันเป็นลำตัวหุ่นและถือตะเกียบมือหุ่น ซ้าย ขวา ไว้ในมือขวาของผู้เชิด เมื่อมีการใช้บทบาทบางครั้งผู้เชิดจะเอานิ้วก้อยซ้ายหนีบตะเกียบซ้ายของหุ่น เอาไว้ การเชิดหุ่นมีท่าในการเชิดหลายแบบ คือ ท่าบทบาทได้เต็มที่
๑.กล่อมตัว เป็นท่าเชิดพื้นฐาน คือ กล่อมไหล่หุ่นจากซ้ายไปขวาและจากขวาไปซ้าย ให้นุ่มนวล
๒.เชิดอ้อมมือ คือ แทงมือจากขวาไปซ้าย และจากซ้ายไปขวา
๓.กระทบตัว ตรงกับจังหวะ ยืด ยุบ ของโขน ละคร
๔.โยกตัว ในจังหวะ "ต้อม ต้อมม่า ทิงทิง … ตุ๊บ ทิงทิง"
ดนตรีการขับร้อง
วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงหุ่นกระบอก โดยมากใช้ปี่พาทย์เครื่องห้า ประกอบ ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองแขก กลองทัด และเครื่องดนตรีที่เป็นสัญลักษณ์ของการแสดงหุ่นกระบอกที่จะขาดไม่ได้ คือ ซออู้ กลองแต๊ก แต๋ว นอกจากนี้ยังมี ม้าห้อ ล่อโก๊ะ เพิ่มพิเศษเฉพาะเรื่องราวที่เกี่ยวกับจีน เช่น เรื่องพระอภัยมณี ตอนศึกเก้าทัพ เป็นต้น ส่วนล่างของฉากจะเขียนเป็นกำแพงเมือง มีใบเสมาสูง ๑ ศอก หรือ ๕๐ เซนติเมตร ทำด้วยผ้าโปร่งหรือมู่ลี่ เพื่อให้คนเชิดเห็นตัวหุ่นได้ถนัด ประตูฉากมี ๔ ประตู ผู้รับโรง ๒ ประตู ด้านในอีก ๒ ประตู เป็นประตูสำหรับหุ่นเข้าออก ส่วนใหญ่จะใช้แต่ประตูใน หากเป็นการยกทัพมีคนมากจะใช้ประตูนอก
เรื่องที่ใช้ในการแสดง
พระอภัยมณี ลักษณวงศ์ สุวรรณหงส์ ไชยเชษฐ ไกรทอง ขุนช้าง-ขุนแผน วงษ์สวรรค์-จันทวาส พระปิ่นทอง (แก้วหน้าม้า) โกมินทร์ มาลัยทอง เป็นต้น
การพากย์หุ่น
ผู้เชิดต้องร้องเพลงหุ่นเอง และพูดเจรจาบทพากย์ต่างๆ บางทีก็ใช้ผู้หญิงพากย์แทนผู้เชิดที่เป็นชายก็มี และในการพากย์ การร้อง ต้องมีคนบอกบทคอยตะโกนบอกทั้งผู้เชิดและนักดนตรีเพื่อแสดงให้สอดคล้องกัน



                                      การละเล่นหุ่นกระบอก  ของภาคกลาง














การละเล่นสะบ้าล้อ ของภาคกลาง


สะบ้าล้อ
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์

-สะบ้า ตั้ง (สะบ้าแก่น) ซึ่งเป็นเมล็ดพืชชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นเถา ชื่อว่า เถาสะบ้า เป็นพันธุ์ไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น มีฝักยาว ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลเข้ม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ๕ เซนติเมตร
-สะบ้าล้อ นิยมทำจากไม้เนื้อแข็งประเภทไม้ประดู่ นำมากลึงเป็นรูปกลมแบน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๖-๘ เซนติเมตร มีลายเป็นเส้นวงกลมซ้อน ๆ กันหลายวง เรียกว่าด้านหงาย ด้านที่เป็นพื้นเรียบ เรียกว่า ด้านคว่ำ

วิธีการเล่น
สะบ้าล้อจะแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละกี่คนก็ได้ โดยทั่วไปจะประมาณ ๗ คน สนามที่ใช้ต้องเป็นดินอัดแน่นขนาดกว้าง ๗ ๑๔ เมตร ฝ่ายใดจะเป็นผู้เล่นก่อน-หลัง ขึ้นอยู่กับการตกลงกันก่อนเล่น ผู้เล่นก่อนจะลงมือเล่นไปตามท่าที่กำหนด ผู้เล่นทีหลังจะเป็นผู้เฝ้าดูอยู่ใกล้กับแถวสะบ้าตั้ง ให้ฝ่ายตรงข้ามเล่นไปตามกติกา ท่าที่นิยมเล่นมีอยู่ ๗ ท่า ดังนี้
๑.ท่าล้อนิ่ง นำสะบ้าวางบนมือแล้วล้อไปข้างหน้า เมื่อสะบ้าหยุดล้อ ให้ผู้เล่นเอาส้นเท้าวางบนสะบ้าแล้วหยิบสะบ้าล้อขึ้นมาวางบนเข่าดีดให้ถูก สะบ้าตั้ง
๒.ท่าล้อปากเป่า ทำเช่นเดียวกับท่าล้อนิ่ง แต่ต้องวิ่งตามไปเป่าสะบ้าด้วย เมื่อสะบ้าหยุด ให้ดีดเช่นเดียวกับท่าที่ ๑
๓.ท่าแพนดีด นำสะบ้าล้อวางบนมือให้ด้านหงายขึ้น ใช้มือทอยไปข้างหน้า สะบ้าหยุดที่ใด ให้ดีดเช่นเดียวกับท่าที่ ๑
๔.ท่าหกโนนดีด ใช้ เท้าทั้ง ๒ ข้างหนีบลูกสะบ้าให้อยู่ระหว่างส้นเท้า โน้มตัวลงเอามือทั้งสองข้าง เท้าพื้น ยกส้นเท้าสะบัดให้สะบ้าข้ามศรีษะไป เมื่อล้อไปหยุดที่ใดให้ดีดเช่นเดียวกับท่าที่ ๑
๕.ท่าหกโนนพ้น ทำเช่นเดียวกับท่าที่ ๔ แต่ต้องทำให้สะบ้าล้อเลยแถวสะบ้าตั้ง
๖.ท่าหนึ่งรองหงาย เอาสะบ้าล้อวางบนพื้นดินให้ด้ายหงายขึ้น หาเศษอิฐ หิน เศษไม้มาหนุนให้มุมด้านใดด้านหนึ่งกระดกขึ้น แล้วใช้นิ้วหัวแม่เท้าทั้ง ๒ ข้างเกี่ยวกัน ดีดสะบ้าไปข้างหน้า ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๓ ให้ถูกสะบ้าตั้งพอดี
๗.ท่าหนึ่งรองคว่ำ ทำเช่นเดียวกับท่าที่ ๖ แต่วางสะบ้าล้อคว่ำ

กติกาการเล่น
.การจองคู่ ตกลงเลือกเล่นก่อน-หลัง โดยโยนสะบ้าหงาย-คว่ำ หรืออื่น ๆ
๒.การตั้งสะบ้า เป็นหน้าที่ของฝ่ายตรงข้ามที่รอเล่น
๓.การใช้คู่ คือการทำแทนเพื่อนที่ยิงสะบ้าตั้งไม่ถูก
๔.การดีดสะบ้าล้อให้ผู้เล่นนั่งบนส้นเท้าของตนเองข้างหนึ่ง เข่าอีกข้างหนึ่งยกขึ้นเหนือพื้นประมาณ ๑ ฟุต นำสะบ้ามาวางบนเข่าใช้นิ้วดีดให้ถูกลูกสะบ้าตั้งของตนเอง
๕.การทำเน่า หรือ ริบ คือ การที่ผู้เล่นทำผิดกติกา เช่น ยิงสะบ้าตั้งของผู้อื่น ล้อสะบ้าล้อเกิน แถวสะบ้าตั้ง เป็น





                                          การละเล่นสะบ้าล้อ  ของภาคกลาง







การละเล่นเป่ากบ ของภาคใต้

 
เป่ากบ

อุปกรณ์และวิธีการเล่น

อุปกรณ์


-ยางวง (ยางเส้น) วงใหญ่ หรือวงเล็กก็ได้ แล้วแต่ความชอบและความถนัด
-ผู้เล่นจำนวนตั้งแต่ ๒ คน หรือมากกว่า เล่นทั้งเด็กชายและเด็กหญิงบางครั้งอาจเล่นเป็นทีมก็ได้
-สถานที่ เช่น พื้นซีเมนต์ พื้นกระดาน หรือพื้นโต๊ะ
จำนวนผู้เล่น  มี ๒ คน หรือเป็นทีมก็ได้


วิธีการเล่น
เอายางเส้น (ยางวง)จะเป็นวงเล็กหรือวงใหญ่ หรืออาจจะเป็นวงสีต่าง ๆ อยู่ที่ความชอบ ได้แก่ สีเขียว สีแดง สีน้ำตาล เป็นต้น นำมาวางบนพื้นคนละ ๑ เส้น ให้อยู่ห่างกันประมาณ ๑ ฟุต ผู้เล่นจะผลัดกันเป่ายางเส้น (ยางวง) ของตนไปข้างหน้าทีละน้อย ๆ จนยางเส้นทั้งสองมาอยู่ใกล้กันผุ้เล่นคนใดเป่าให้ยางเส้นของตนไปทับยางเส้น ของฝ่ายตรงข้ามได้ก็จะเป็นผู้ชนะ ฝ่ายแพ้จะต้องจ่ายรางวัลให้กับผู้ชนะ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นยางเส้น (ยางวง) แต่อาจให้รางวัลอื่น ๆ ก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน
                                                                                              




                                           การละเล่นเป่ากบ  ของภาคใต้






การละเล่นหมากขุม ของภาคใต้

 
หมากขุม
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์

-รางหมากขุม เป็นรูปเรือทำจากไม้ ยาวประมาณ ๑๓๐ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๒๐ เซนติเมตร มีหลุมเรียงเป็น ๒ แถว หลุมกว้างประมาณ ๗ เซนติเมตร ลึกประมาณ ๔ เซนติเมตร มีด้านละ ๗ หลุม เรียกหลุมว่า เมือง หลุมที่อยู่ปลายสุดทั้งสองข้างเป็นหลุมใหญ่กว้างประมาณ ๑๑ เซนติเมตร เรียกว่า หัวเมือง
-ลูกหมาก นิยมใช้ลูกสวดเป็นลูกหมาก ใส่ลูกหมากหลุมละ ๗ ลูก จึงต้องใช้ลูกหมาก ในการเล่น ๙๘ ลูก
จำนวนผู้เล่น มี ๒ คน
วิธีการเล่น
๑.ผู้เล่นนั่งคนละข้างกับรางหมากขุม แต่ละคนใส่ลูกหมากหลุมละ ๗ ลูก ทั้ง ๗ หลุม ส่วนหลุมหัวเมืองไม่ต้องใส่ให้เว้นว่างไว้
๒.การเดินหมาก ผู้เล่นจะเริ่มเดินพร้อมกันทั้ง ๒ ฝ่าย เรียกว่า แข่งเมือง โดยหยิบลูกหมากจากหลุมเมืองของตนหลุมใดก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะหยิบหลุมสุดท้ายของฝ่ายตนเอง เพราะคำนวนว่าเม็ดสุดท้ายจะถึงหัวเมืองของตนพอดี การเดินหมากจะเดินจากขวาไปซ้าย โดยใส่ลูกหมากลงในหลุม ถัดจากหลุมเมืองที่หยิบลูกหมากขึ้นมาเดิน ใส่ลูกหมากหลุมละ ๑ เม็ด รวมทั้งใส่หลุมหัวเมืองฝ่ายตนเอง แล้ววนไปใส่หลุมของฝ่ายตรงกันข้าม ยกเว้นหลุมหัวเมือง เมื่อเดินลูกหมากเม็ดสุดท้ายใส่ในหลุม ให้หยิบลูกหมากทั้งหมดในหลุมนั้นขึ้นมาเดินหมากต่อไป โดยใส่ในหลุมถัดไป เล่นเดินหมากอย่างนี้จนลูกหมากเม็ดสุดท้ายหมดลงในหลุมที่เป็นหลุมว่าง ถือว่าหมากตาย ถ้าเดินหมากตายในหลุมเมืองของฝ่ายตรงข้ามก็ถือว่าสิ้นสุดการเดินหมาก แต่ถ้าตายในหลุมเมืองฝ่ายตนเอง ให้ผู้เล่นกินหมากหลุมเมืองซึ่งอยู่ตรงข้ามกับหลุมที่เราเดินหมากมาตาย โดยควักลูกหมากทั้งหมดในหลุมไปไว้ในหลุมหัวเมืองของฝ่ายตน เรียกว่ากินแทน เล่นอย่างนี้จนหลุมเมืองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหมดลูกหมาก เดินต่อไปไม่ได้ ลูกหมากทั้งหมดจะไปรวมอยู่ในหลุมหัวเมืองของทั้ง ๒ ฝ่าย จึงเริ่มเล่นรอบใหม่ต่อไป
๓.การเดินหมากรอบสอง ผู้เล่นจะผลัดกันเดินทีละคน ทำเช่นเดียวกับการเดินรอบแรก นำลูกหมากจากหลุมหัวเมืองฝ่ายตนเองใส่ลงในหลุม ๆ ละ ๗ ลูก ในฝ่ายของตนเอง คราวนี้แต่ละฝ่ายจะมีลูกหมากไม่เท่ากัน ฝ่ายที่มีลูกหมากมากกว่าจะเป็นผู้เดินหมากก่อน ฝ่ายที่มีลูกหมากน้อยกว่าจะใส่ไม่ครบทุกหลุม หลุมใดมีไม่ครบให้นำลูกหมากที่เหลือไปใส่ในหลุมหัวเมืองฝ่ายตน หลุมใดไม่มีลูกหมากเรียกว่า เมืองหม้าย ตามปกติหลุมเมืองหม้ายจะปล่อยไว้หลุมปลายแถว หลุมเมืองหม้ายจะไม่ใส่ลูกหมาก ถ้าฝ่ายใดใส่จะถูกริบเป็นของฝ่ายตรงกันข้าม ในกากรเล่นจะเล่นจนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหมดลูกหมากเดินต่อไปไม่ได้และจะนับเมือง หม้าย ใครมีจำนวนเมืองหม้ายมากกว่าฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายแพ้
                                                                                    


                                      การละเล่นหมากขุม  ของภาคใต้







อีหึ่มหรือตี่จับ ของภาคเหนือ


อีหึ่มหรือตี่จับ

ชื่อ อีหึ่ม
ภาค ภาคเหนือ
จังหวัด ตาก


สถานที่เล่น สนามกลางแจ้ง

      อุปกรณ์
ไม้ยาวประมาณ ๕๐ เซ็นติเมตร และไม้ยาวประมาณ ๒๐ เซ็นติเมตร เรียกว่า ลูก อาจใช้ตะเกียบแทนก็ได้

      จำนวนผู้เล่น
ตั้งแต่ ๔ คนขึ้นไป ควรจะเป็นคู่กันด้วย

      วิธีเล่น
แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ๆ ละเท่ากัน เป่ายิงฉุบกันใครชนะเล่นก่อน ขุดหลุมน้อย ๆ เอาลูกพาดกลางหลุมไว้ใช้ไม้ยาว ๕๐ เซ็นติเมตร (ไม้วุด) งัดไม้ที่เป็นลูกหรือที่ยาว ๒๐ เซ็นติเมตรไปให้ไกลที่สุด แล้ววางไม้วุดปากหลุม ให้อีกฝ่ายที่ไม่ได้งัดโดยไม้ที่วุดไปให้มาถูกที่พาดไว้บนปากหลุม ถ้าวุดไม่ถูกก็ให้วุดไม้อีกครั้งจนกว่าจะถูก ถ้าถูกให้ผู้ที่เป็นฝ่ายโยนไม้มาปากหลุมแทน

      โอกาส
เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป




                           การละเล่น  ของภาคเหนือ







การละเล่นโพงพาง ของภาคเหนือ

เล่นโพงพาง

     

ภาค ภาคเหนือ
จังหวัด ตาก
สถานที่เล่น สนาม ลานกว้าง
อุปกรณ์ ผ้าปิดตา
จำนวนผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวน
         วิธีเล่น
ยิงฉุบกันว่าใครจะเป็นผู้แพ้ต้องปิดตาเป็นโพงพางตาบอด ผู้เล่นคนอื่น ๆ จับมือเป็นวงกลมร้องเพลง โพงพางเอ๋ย โพงพางตาบอด รอดเข้ารอดออก โพงพางตาบอดปล่อยลูกช้างเข้าในวง ขณะเดินวนรอบ ๆ โพงพางตาบอดร้องเพลง ๑-๓ จบ แล้วนั่งลงโพงพางจะเดินมาคลำคนอื่น ๆ ซึ่งต้องพยายามหนี และจะต้องเงียบสนิท หากโพงพางจำเสียงหัวเราะ รูปลักษณะได้จะเรียกชื่อ ถ้าเรียกคนถูกต้องออกมาปิดตาเป็นโพงพางต่อไป ถ้าไม่ถูกก็ต้องเป็นโพงพางอีกไปเรื่อย ๆ
         กติกา
  ใครถูกจับได้ และบอกชื่อถูกต้องเป็นโพงพางแทน
         โอกาส
  เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป


                                                    การละเล่นโพงพาง  ของภาคเหนือ











การละเล่นโถกเถก ของภาคอีสาน

วิ่งขาโถกเถก


   ชื่อ   วิ่งขาโถกเถก
   ภาค   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
   จังหวัด ชัยภูมิ
      
       อุปกรณ์และวิธีการเล่น
          อุปกรณ์ ไม้ไผ่กิ่ง ๒ ลำ ถ้าไม่มีก็เจาะรูแล้วเอาไม้อื่นๆ สอดไว้เพื่อให้เป็นที่วางเท้าได้
วิธีการเล่น ผู้เล่นจะเลือกไม้ไผ่ลำตรง ๆ ที่มีกิ่ง ๒ ลำที่กิ่งมีไว้สำหรับวางเท้าต้องเสมอกันทั้ง ๒ ข้าง ผู้เล่นขึ้นไปยืนบนแขนงไม้เวลาเดินยกเท้าข้างไหนมือที่จับลำไม้ไผ่ก็จะยกข้างนั้น ส่วนมากเด็ก ๆ ที่เล่นมักจะมาแข่งขันกัน ใครเดินได้ไวและไม่ตกจากไม้ถือว่าเป็นผู้ชนะ

       โอกาสที่เล่น
การวิ่งขาโถกเถก ถือเป็นการละเล่นที่เล่นได้ทุกโอกาส โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์

        คุณค่า / แนวคิด / สาระ
นอกเหนือจากความสนุกสนานแล้ว ยังเป็นเครื่องมือในการออกกำลังกาย บริหารส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้เป็นอย่างดี เดิมผู้ที่ใช้ขาโถกเถกเป็นชายหนุ่มไปเกี้ยวสาว เสียงเดินจากไม้เมื่อสาวได้ยินก็จะมาเปิดประตูรอเพื่อพูดคุยกันตามประสาหนุ่มสาว หรือบ้านสาวเลี้ยงสุนัขไม้โถกเถกยังเป็นอุปกรณ์ไล่สุนัขได้ด้วย


การละเล่นโถกเถก ของภาคอีสาน